มหาชาติ 13 กัณฑ์

1.กัณฑ์ทศพร 19 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ สาธุการ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่นางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร โดยให้พร 10 ประการ

2.กัณฑ์หิมพานต์ 134 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ตวงพระธาตุ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชา ชนชาวเมืองสีพีโกรธแค้น จึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต

3.กัณฑ์ทานกัณฑ์ 209 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ พญาโศก ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกสัตสดกมหาทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนออกจากพระนคร

4.กัณฑ์วนปเวศน์ 57 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ พญาเดิน วนปเวศน์ เป็นกัณฑ์ที่เสด็จถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตให้ พระเวสสันดร พระนางมัทรี ชาลีและกัณหา จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา

5.กัณฑ์ชูชก 79 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ เซ่นเหล้า ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส

6.กัณฑ์จุลพน 75 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ คุกพาทย์ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางอาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร อ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี

7.กัณฑ์มหาพน 80 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ เชิดกล้อง มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤาษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดร

8.กัณฑ์กุมาร 101 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ โอดเชิดฉิ่ง กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก

9.กัณฑ์มัทรี 90 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ทยอยโอด กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก

10.กัณฑ์สักกบรรพ 43 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กลม สักก บรรพ เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ

11.กัณฑ์มหาราช 69 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กราวนอก มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมาร ก่อนเสด็จนิวัตถึงมหานครสีพี

12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ 36 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ ตระนอน ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้ากัน ท้าวสักกะเทวราชได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์

13.กัณฑ์นครกัณฑ์ 48 คาถา เพลงประจำกัณฑ์ คือ กลองโยน นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัตพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา

โวหารภาพพจน์

ความหมายของโวหารภาพพจน์
โวหาร  คือ  การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง  เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ  เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี  มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง  ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ  กัน  แล้วแต่ชนิดของข้อความ  (สมถวิล  วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
โวหารภาพพจน์  คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ    เกิดความประทับใจ
เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ  เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน  (รัตนา  ศรีมงคล.  http://www.thaigoodview.com/library /teachershow/ratchaburi/ratana_sri/index.html)

 ประเภทของโวหารภาพพจน์

              ประเภทของโวหารภาพพจน์นั้น  ( สมถวิล  วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๓๑  ; จันจิรา  จิตตะวิริยะพงษ์. ๒๕๔๙ : ๔๗๔ ; ภิญโญ  ทองเหลา. ๒๕๔๗ : ๑๕ ; รัตนา  ศรีมงคล.http://www. thaigoodview.com/library /teachershow/ratchaburi/ratana_sri/index.html)  ได้กล่าวสอดคล้องกันไว้   ดังนี้

 ๑   อุปมาโวหาร  (Simile)
อุปมา  คือ  การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า    “ เหมือน ”    เช่น   ดุจ  ดั่ง  ราว  ราวกับ  เปรียบ  ประดุจ  เฉก  เล่ห์  ปาน  ประหนึ่ง  เพียง  เพี้ยง  พ่าง  ปูน  ถนัด  ละหม้าย  เสมอ  กล  อย่าง  ฯลฯ
๒  อุปลักษณ์  ( Metaphor )
อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน  แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  มักจะมีคำ เป็น  คือ  มี ๓ ลักษณะ
๑.   ใช้คำกริยา เป็น  คือ  =   เปรียบเป็น  เช่น  โทสะคือไฟ
๒. ใช้คำเปรียบเป็น  เช่น  ไฟโทสะ  ดวงประทีปแห่งโลก   ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย
๓.  แสดงการเปรียบเทียบโดยปริยาย  เช่น  มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่
อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง   ที่สำคัญอุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
๓ สัญลักษณ์  ( symbol )
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ  ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้  เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน
๔  บุคลาธิษฐาน   (  Personification )
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต  บุคคลสมมติ  คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด   ไม่มีวิญญาณ  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้    อิฐ  ปูน    หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์  เช่น ต้นไม้ สัตว ์   โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้  แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์  ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต   ( บุคลาธิษฐาน  มาจากคำว่า  บุคคล  +  อธิษฐานหมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
๕   อธิพจน์  ( Hyperbole )
       อติพจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์   ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง   ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
๖   สัทพจน์  ( Onematoboeia )
สัทพจน์  หมายถึง  ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ   เช่น   เสียงดนตรี    เสียงสัตว์   เสียงคลื่น    เสียงลม   เสียงฝนตก  เสียงน้ำไหล   ฯลฯ   การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
๗  นามนัย ( Metonymy )
นามนัย  คือ  การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆ สัญลักษณ์     แต่ต่างกันตรงที่  นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด  หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด
๘  ปรพากย์  ( Paradox )
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว  อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

thanks to : http://gene901.exteen.com/page/2

ร่ายกลบทกบเต้นต่อยหอย&ร่ายกลบทกบเต้นสลักเพชร

ร่ายกลบทกบเต้นต่อยหอย

ตัวอย่าง
สรรแต่หาญสารตัวเหี้ยม เทียมช้างมารทานช้างหมื่น พื้นโถมศึกฝึกทนศร ร่อนงาส่าย   ร่ายเงยเศียร เรียนเชิงสู้รู้ชนสาร ร่านบ้าแทงแรงบ่ถอย ร้อยคชหนีรี่ขึ้นหน้า… เทิดกระบี่ที่กระบวน ทวนหอกรำทำหันร่อน
ข้อ กำหนด สัมผัสในให้คำที่ ๑ กับคำที่ ๔ คำที่ ๒ กับคำที่ ๕ และคำที่ ๓ กับคำที่ ๖ สัมผัสอักษรกัน และให้คำที่ ๓ กับคำที่ ๔ สัมผัสสระกัน ส่วนสัมผัสนอกต้องให้คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำต้นของวรรคต่อไปและไม่ บังคับวรรณยุกต์

่ายกลบทกบเต้นสลักเพชร

ตัวอย่าง
ต่างแกล้วสรรตัวกลั่นสรรพ แล่นโจมทัพไล่จับทัน จู่เข้าฟันจับคันฟาด ล้มกลิ้งดาษลงกลาดดื่น ขุนม้าพื้นขุนหมื่นพัน ตัวล่ำสันต่างลั่นศร ตั้งมือร่อนโตมรรำ เสื้อแดงก่ำสีดำแกม หมากสุกแปมม่วงแซมปน หมู่พหลม้าพลหาญ … ชาญศึกรู้เชิงสู้รับ แม้ร้อยทัพมารับทัน
ข้อกำหนด สัมผัสในให้คำที่ ๑ กับคำที่ ๔ คำที่ ๒ กับคำที่ ๕ และคำที่ ๓ กับคำที่ ๖ เป็นคำสัมผัสอักษรกัน และให้คำที่ ๓ กับคำที่ ๕ สัมผัสสระกัน ส่วนสัมผัสนอกต้องให้คำที่ ๖ ของวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคหลัง

credit: http://www2.srp.ac.th/~anurat/wetsandon1.htm

Return to Main Page for Tangled Posters